ความรู้กีฬาเปตอง

เปตอง

จุดเด่นของกีฬาเปตองเป็นพื้นฐานการเล่นการเล่นกีฬาประเภทอื่นในระหว่างการเล่นร่างการจะได้รับบริหารทุกส่วน กล่าวว่าการเล่นเปตอง 6 เกมส์ / วัน ต้องออกกำลังลูบลูที่มีน้ำหนัก 680 / 700 กรัม.ถึงประมาณ 200 ครั้ง. ก้มขึ้น-ลง ประมาร 250 ครั้ง. เดินไปมาในสนามประมาณ3กิโลเมตร. กีฬาประเภทนี้ง่ายสามารถเล่นได้ทุกเวลา และเล่นได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง สนามหญ้า
ประโยชน์กีฬาเปตอง
-กำลังแขน ผู้เล่นฝึกการใช้กำลังนิ้ว ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธ์กัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะและระยะที่ต้องการ
-กำลังขา ผู้เล่นจ้องเดินไปเดินมาของความยาวชองสนามที่กำหนอของแต่ละที่
-สายตา เกิดการทงานสัมพันธ์กันระหว่างสายตาและมือ เนื่องต้องใช้สายตากะระยะทาง แง่มุมต่างๆให้ได้ประสิทธิ์ภาพที่ต้องการพัฒนาการทางด้านจิตใจ
เปตองเล่นได้ทั้งเดี่ยวและทีม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจและจิตใจเพื่อนร่วมทีมมีการปึกษาหารื้นกันและคววามคิดของกันและกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้
นำและผู้ตามที่ดี สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ผู้เล่นจะต้องทำจิตใจให้สงบ
ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทเล่นเป็น 3 ประเภท
1.ประเภทเดี่ยวใช้ลูกบูล 3 ลูก
2.ประเภทคู่ คู่ประผสมใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก.
3.ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก
วิธีเล่นเปตอง(เบื่องต้น)
ลูกบลู เป็นลูกทรงกลมด้านในกลาง ทำด้วยโลหะ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 70.5-80 มิลลิเมตร มีน้ำหนักระหว่าง 650-800 กรัม มีเครื่องหมากของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนักและรูปรหัสปรากฏอยู่บนลูกบลูอย่างชัดเจน และควรเป็นลูกบลูที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติ และสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยในพระนาชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี
ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลม แต่ทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเราะห์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 25-35 มิลลิเมตร และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม
สนามเล่น สนามต้องพื้นเรียบกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นไม้ พื้นคอนกรีตและพื้นหญ้า ไม่เหมาะสมหรับกีฬาเภทนี้
ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลม เต่ทำด้วยไม้หรือวัสดุสีงเคราะห์ มีผ่าศูนนย์กลางระหว่าง 25-35 มิลลิเมตร และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ ชัดเจนในขอบเขตของสนาม
เทปวัดสนาม
วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็ฯ 2 ฝ่ายๆละเท่าๆกัน ให้ลูกบูลมีลวดลายแตกต่างกัน
-ตำแหน่งของผู้โยนทั้ง 2 ฝ่ายจะใช้ตำแหน่งโยนเดียวกัน โดยทำการวาดวงกลมรอบตัวผู้เล่น เพื่อกำหนดดจุดในการโยน
-การโยนลูกเป้า คือโยนๆไปเถอะ แต่ห้ามโยนต่ำกว่า 1 ใน 3 ของสนามนับจากด้านคนโยน ไม่งั้นไม่สนุก
-ฝ่ายที่ได้โยนลูกเป้า จะเป็นฝ่ายได้โยนลูกเหล็กก่อน 1 ลูก เป้าหมายคือให้ลูกเหล็กของฝ่ายเราอยู่ไกล้ลูกเป้ามากที่สุด หลักจากโยนไป 1 ลูกแล้ว ก็สลับให้ฝ่ายตรงข้ามโยน
-อันนี้สำคัญหลักจากคู่แข็งโยนลูกเหล็กถ้าฝ่ายคู่แข่งโยนได้ไกล้ลูกเป้ามากกว่าฝ่ายคุณ ก็จะต้องสลับฝ่ายโยน คุณจะต้องโยนลูกเหล็กให้ไกล้กว่าฝ่ายคู่แข็งแต่ถ้าคุณโยนแล้ว ยังไม่ไกล้ลูกเป้า คุณก็ต้องโยนต่อไปจนกว่าจะไกล้กว่าของคู่แข่ง แต่ถ้าคู่แข่งโยนแล้วแต่ของคุณก็ยังไกล้ลูกเป้ากว่า ฝ่ายคู่แข่งก็ต้องโยนลูกเหล็กไปจนกว่าจะไกล้ลูกเป้ามากกว่าของคุณ
-การนับคะแนน สมมุตว่า เล่นเกม 15 แต้ม แต่คุณและคู่แข่งมีลูกเหล็กคนละ 3 ลูกก็หมายความว่า คุณต้องโยนแข่งกันไปจนกว่าลูกเหล็กในมือโดยห้ามเดินไปหยิบลูกเหล็กที่โยนไปแล้วกลับมาโยนให่ หากทั้ง 2 ฝ่ายโยนจนครบแล้ว ก็ให้นับแต้มโดยนับจากลูกเหล็กที่ไกล้ลูกเป้ามากที่สุด
-จากนั้นก็เล่นรอต่อไปจนกว่าฝ่ายไดฝ่ายหนึ่งจะได้ 15 แต้มก่อน โดยในการขึ้นรอบใหม่แต่ละครั้ง สิทธิ์ในการโยนลูกเป้าจะตกเป็นของผู้ชนะในรอบก่อนๆ
การจับลูกและหลักเปตองแลหลักการบังคับลูกเปตอง
การจับลูกเปตอง
วิธีการจับลูกเปตองแบบต่าง มีดังนี้
1.1 แบบนิ้วหัวแม่มือทั้หมดอยู่ห่างกัน หรือเรียกอีกอย่างว่าการจับด้วยปลายนิ้วมือ วิธีนี้พบเห็นทั้งการโยนลูกเข้าเป้า และการยิง แต่พบเป็นจำนวนไม่มากนัก ลักษณะการจับลูกเปตองคล้ายกับการหยินสิ่งองวัตถุต่างๆ ตามธรรมชาติ


การจับลูกเปตองโยนวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เล่นที่กำลังของข้อมือไม่ค่อยแข็งแรง อาศัยช่วงแขนส่งลูกเปตองออกไป ลูกที่ออกจากมือจะเกิดการหมุนกลับแบบรูปสกรู น้อยมากหรือไม่มีเลย ทำให้ไม่เกิดแรงเหนี่ยวรั้งของลูก ควบคุมยากทั้งทิศทางระยทาง สำหรับมือวางหรือมือเกาะ หากสนามมีที่เรียบ เช่น สนามหินฝุ่น สนามลูกรังแบบละเอีอดหรือสนามลู่วิ่ง การจับแบบนี้จะโยนลูกได้ดีพอสมควร เพียงแต่กะน้ำหนักของการโยนให้สัมพันธ์กับระยะทางระหว่างจุดที่โยนกับตำแหน่งที่ลูกเป้าอยู่ แต่ถ้าหากเป็นสนามวิบากซึ่งต้องใช้เทคนิคในการโยนลูกโด่งหรือที่นักกีฬาเปตองส่วนใหญ่เรียกกันว่าลูกดร๊อป แล้วการจับลูกแบบนี้แทบจะใช้ไม่ได้ผลเลยเพราะการโยนลูกดร๊อปต้องอาศัยข้อมือสะบัดลูกขึ้นไปและนิ้วมือทั้งหมดจะควบคุมทิศทางในการปล่อยลูก เมื่อนิ้วมือถูกปล่อยให้เป็นอิสระไม่ชิดกันโอกาสที่ลูกเปตองจะหลุดจากมือก่อนอันเนื่องมากจากแรงเหวี่ยงจะมีมาก อีกประกาศหนึ่งนิ้วมือของคนเราแต่นิ้วนั้นจะมีความแข็งแรงไม่เท่ากัน ในขณะที่โยนลูกหากนิ้วมือนิ้วใดไม่สามารถควบคุมแรงส่งของลูกเปตองที่ปล่อยออกไปก็จะทำให้เสียทิศทาง สำหรับมือยิงการจับลูกเปตองแบบนี้มีให้พบเห็นน้อยมาก ไม่ค่อยมีใครนิยม ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นแพราะว่าในการยิ่งลูกนั้นต้องใช้แรงมากเหวี่ยงเพื่อส่งลูกให้ไปถึงเป้าหมาย โอกาสที่ลูกจะหลุดจากมือก่อนและลูกจะเสี่ยทิศทางจะเป็นไปได้มากเช่นเดี่ยวกับการโยนลูกดร๊อป
1.2 แบบนิ้วมือทั้งสี่อยู่ชิดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มืออยู่ตรงข้ามกับนิ้วที่สี่ การจับลูกเปตองลักษณะนี้มีพบเห็นโดยทั่วไป แต่ก็มากกว่าแบบแรก โดยเฉพาะพบเห็นมือยิงมากกว่ามือวางหรือมือเกาะ เหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีกำลังข้อมือแข็งแรงปานกลางนิ้วมือทั้งสี่จะควบคุมลูกให้ไปตามทิศทาง นิ้วหัวแม่มือจะช่วยยกและประคองลูกเปตองขึ้น การโยนส่วนใหญ่จะใช่ช่วงแขนออกแรงส่งลูกเปตองมากกว่าข้อมือ

ลูกเปตองที่ถูกปล่อยออกไปจากมือจะเป็นไปในลักษณะส่งลูกไปข้างหน้า ทั้งมือเกาะและมือยิงการปล่อยลูกเปตองจะมีลักษณะเดียวกัน ใช้โยนได้ทั้งสนามเรียบและสนามวิบาก สำหรับมือเกาะการโยนลูกดร๊อปที่จับแบบนี้หวังผลได้ไม่มากนัก โดยเฉพาะลูกดร๊อปที่ต้องโยนให้ลูกลอยสูงแล้วตกไกล้ๆกับตำแหน่งที่ลูกเป้าวางอยู่เพราะลูกจะ หมุนสกรูกลับไม่ถึงตำแหน่งการบังคับลูกให้ตกลงตามจุดที่ต้องการก็ยาก และโอกาสที่ลูกเปตองจะหลุดจากมือก่อนก็มากเช่นกัน สำหรับมือยิงแล้วใช้ได้ผลพอสมควรโดยเฉพาะในระยะ 8 – 10 เมตร แต่ถ้าระยะ 6 – 7 เมตร แล้วลูกที่ยิงมักจะข้ามเป้าหมาย ผู้เขียนได้เคยสอบถามนักเปตองที่จับลูกโดยวิธีนี้หลายท่านทั้งมือเกาะและมือยิงแล้วได้รับคำตอบที่เหมือนๆ กันว่าช่วยผ่อนแรงดี บังคับลูกได้ตรงทาง
1.3 แบบนิ้วมือทั้งสี่ชิดกันโดยปล่อยนิ้วหัวแม่มือเป็นอิสระ การจับลูกเปตองแบบนี้พบเห็นมากกว่าสองแบบแรกทั้งมือเกาะและมือยิง ลักษณะการจับลูกเปตองจะอยู่ในตำแหน่งกลางฝ่ามือ นิ้วทั้งสี่จับแบบโอบลูกไว้ส่วนนิ้วหัวแม่มือปล่อยเป็นอิสระไม่สัมผัสลูกเปตองจึงเห็นได้ว่าจะเป็นการจับเพียงสี่นิ้วเท่านั้น
การจับลูกแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีกำลังข้อมือแข็งแรง การส่งลูกจะใช้ช่วงแขนกับข้อมือเป็นหลัก ข้อมือจะบังคับให้ลูกเปตองลอยสูงหรือต่ำ ลูกสกูรกลับมากหรือน้อยก็ได้ นิ้วทั้งสี่จะบังคับให้ลูกที่ปล่อยอกไปในทิศทางที่ต้องการได้ดี ใช้ได้ผลทั้งสนามเรียบและสนามวิบาก สามารถโยนและบังคับลูกตกพื้นสนามได้ทุกระยะ การจับแบบนี้มีข้อจำกัดบางประการ คือ นิ้วมือทั้งสี่จะเมื่อยล้าง่ายเมื่อโยนลูกเปตองติดต่อกันนานๆ เนื่องจากนิ้วทั้งสี่ต้องจับและกดลูกแน่กว่าปกติเพื่อมิให้ลูกหลุดมือในขณะโยนและยิง หากความเมื่อยล้าของนิ้วมือเกิดขึ้นแล้วโอกาสที่ลูกเปตองจะหลุดจากมือก่อนจะมีมากขึ้น
1.4แบบนิ้วมือทั้งสี่ชิดกันและใช้นิ้วหัวแม่มือยึดลูกเปตอง แบบนี้เป็นแบบที่นักเปตองนิยมมากที่สุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในการแข่งขันเปตองระดับโลกแทบจะกล่าวได้ว่าผู้เล่นทุกคนจับลูกเปตองแบบนี้ทั้งในการโยนและการยิง ลักษณะการจับนิ้วมือทั้งสี่จะโยนลูกและบังคับลูกให้อยู่ในตำแหน่งกลางฝ่ามือ ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะยึดลูกไว้ในลักษณะช่วยบังคับลูกให้อยู่กลางฝ่ามือเช่นกัน โดยนิ้วทั้งสี่จะทำหน้าที่ปล่อยและบังคับลูกให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ ส่วนนิ้วหัวแม่มือทำหน้าที่กันลูกไม่ให้หลุดออกไปทางด้านข้างของนิ้วการจับลูกด้วยวิธีนี้นอกจากจะสามารถโยนและบังคับลูกได้ดีทุกระยะเช่นเดียวกับแบบที่ 3 แล้วยังมีจุดเด่นอีกบ้างประการ คือแม้จะโยนลูกโด่งสูงๆ ก็สามารถบังคับลูกได้โดยไม่หลุดจากมือก่อนเนื่องจากลูกเปตองถูกบังคับไว้ด้วยนิ้วมือทั้งหมด อีกประการหนึ่งความเมื่อยล้าของนิ้วมือซึ่งเกิดจากการโยนหรือยิงติดต่อกันนานๆ จะไม่เกิดขึ้น
จากที่ได้เสนอรูปแบบการจัดลูกเปตองทั้ง 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบต่างมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันดูแล้วจะเห็นได้ว่าวิธีการจับลูกเปตองในแบบที่ 4 เป็นแบบที่ถูกต้องตามหลักสากลนิยมที่สุด ที่กล่าวเช่นนี้เป็นเพราะว่านอกจากจะมีจุดเด่นทั้งในการโยน การยิง การบังคับลูกที่ได้เปรียบกว่าวิธีอื่น รวมทั้งไม่มีข้อจำกัดแล้ว การจับลูกเปตองวิธีนี้ผู้เล่นทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างก็ให้ความนิยมและเป็นที่ยอมรับกัน
มากกว่าแบบอื่น
หลักการบังคับลูกเปตอง
นักเปตองที่ฝึกหัดใหม่ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับลูกเปตองอย่างมาก สาเหตุอาจมาจากการฝึกที่ผิด หรือการไปจำวิธีการผู้อื่นแล้วนำมาฝึกอย่างผิด โดยขาดการแนะนำ หรือจากการฝึกที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง การฝึกการบังคับลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกเข้าหรือลูกตี ลูกหมุนซ้าย หมุนขวา หรือลูกสกรู (ลูกหมุนกลับหลัง) ปลายนิ้วมือและข้อมือมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบังคับลูก
บริหารร่างกายก่อนและหลักการฝึกก่อนการเล่น
กานบริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกีฬาทุกคน ต้องปฎิบัติเป็นประจำก่อนและหลักการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่างๆของร่างกายตื่นตัวระการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัวทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู้ร่างกายได้เพียงพอ และสามารถทำให้ร่างการยืดหยุ่นดีด้วย
หลังการเล่น
หลังการฝึกซ้อมทุกครั้งส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดความดึงเครียดและเสียพลังงานจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด กด จับ ทุกสลับกันไปจะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *